๒๐ กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ
๒๐ กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ
องค์การสหประชาชาติ (UNITED NATIONS) ได้ประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นปีเยาวชนสากล และขอให้ประเทศชาติสมาชิกร่วมเฉลิมฉลองปีเยาวชน สากล ภายใต้คําขวัญ
“ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” (Participation, Development and Peace) เพื่อที่จะมุ่งเน้นให้เยาวชน ซึ่งหมายถึงหนุ่มสาวที่มีอายุ ตั้งแต่ ๑๘ – ๒๕ ปี ได้ตระหนักถึงความสําคัญของตนเองที่ จะเป็นพลังสําคัญในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต และ สามารถช่วยสร้างเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังนั้นสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงาน เยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ในขณะนั้น จึงได้เสนอต่อ คณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบให้มีวันเยาวชน แห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๒๘ กําหนดให้วันที่ ๒๐ กันยายนของทุกปี เป็นวันเยาวชน แห่งชาติ
ความสําคัญ ของวันที่ ๒๐ กันยายน
วันที่ ๒๐ กันยายนของทุกปี เป็นวันเยาวชน แห่งชาติ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์สองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๙ ซึ่งทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในขณะที่ ยังทรงพระเยาว์ จึงถือได้ว่าเป็นวันสิริมงคลที่เยาวชน ควรสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าทั้งสอง พระองค์ เยาวชนจึงควรกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ เฉกเช่นยุวกษัตริย์ทั้งสองพระองค์
คําขวัญวันเยาวชนแห่งชาติ
คําขวัญวันเยาวชนแห่งชาติ ใช้คําขวัญ เดียวกันกับคําขวัญปีเยาวชนสากล คือ “Participation Development and Peace” ถอดความเป็นภาษาไทยว่า
“ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา
ใฝ่หาสันติ”
เยาวชนคือใครและมีความสําคัญอย่างไร
ความหมายของคําว่า เยาวชน เดิมมีผู้กําหนดไว้ แตกต่างกัน แต่ในปัจจุบันภายหลังที่พระราชบัญญัติส่งเสริม การพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้มีผลใช้ บังคับเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๑ ได้กําหนดความหมายคํา ว่า “เด็ก” และ “เยาวชน” ไว้ในมาตรา ๔ แห่ง พระราชบัญญัติ ฉบับนี้ว่า
“เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุ ต่ํากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และ
“เยาวชน” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุตั้งแต่ สิบแปดปีบริบูรณ์ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์
ซึ่งมีความหมายต่อเยาวชนทุกคน สามารถยึดถือและนําไปปฏิบัติ ดังนี้
ร่วมแรงแข็งขัน (Participation)
หมายถึง เยาวชนรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงพลัง สร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และ ประเทศชาติ
เป้าหมายของวันเยาวชนแห่งชาติ
เป้าหมายของวันเยาวชนแห่งชาติที่สําคัญมี ๓ ประการ คือ
๑. เพื่อให้เยาวชนอายุ ๑๘ – ๒๕ ปี ได้ตระหนักถึง
ความสําคัญในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ
ช่วยกันพัฒนา (Development)
หมายถึง เยาวชนควรพัฒนาตนเองทั้งทาง ร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของ สังคมในอนาคต และบําเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ
๒. เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึง
ความสําคัญของการพัฒนาเยาวชนให้เป็น ทรัพยากรบุคคลที่มีความสําคัญต่อ ประเทศชาติ ทั้งในด้านคุณภาพและคุณธรรม
๓. เพื่อให้นโยบายส่งเสริม และพัฒนาเยาวชน
ดําเนินไปอย่างต่อเนื่องสัมฤทธิ์ผล
ใฝ่หาสันติ (Peace)
หมายถึง เยาวชนต้องช่วยกันสร้างสันติ โดยเริ่ม จากตนเอง ครอบครัวของตน แล้วขยายไปยังชุมชน และ ประเทศชาติ
เครื่องหมายเยาวชนแห่งชาติ
ความหมาย
เครื่องหมายเยาวชนนี้ได้รับพระราชทาน และพระ บรมราชนุญาตให้ใช้พระมหาพิชัยมงกุฎบนส่วนยอดของ เครื่องหมาย เพื่อเป็นมิ่งขวัญ กําลังใจ และสิริมงคลแก่ชีวิต ของเยาวชน
รูปลักษณะของเครื่องหมายนี้ เป็นรูปโล่สีธงชาติ มีอักษรคําว่า “เยาวชน” สีขาวอยู่ในวงกลมพื้นสีเขียวเบื้อง บนเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฏ มีรัศมี อุณาโลม เบื้องล่างมี อักษรสีแดงว่า พลัง พัฒนา ชาติ รองรับด้วยรวงข้าว ๙ รวง แยกอยู่ทางด้านขวา ๕ รวง ด้านซ้าย ๔ รวง ซึ่งสัญลักษณ์ ต่าง ๆ เหล่านี้ อธิบายได้ดังนี้ คือ
๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ
เป็นเรื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์องค์ ประมขสงสดของประเทศ ซึ่งทรงเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นจุดรวมน้ําใจของทั้งประเทศ
๒. รัศมีที่พระมหาพิชัยมงกุฎ
หมายถึง พระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งหมายความว่า เยาวชนไทยนั้น อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว หรือได้รับพระบารมีปกเกล้าฯ (คําอธิบายของกรมศิลปากร)
7. อุณาโลม
หมายถึง หว่างพระขนงของพระพุทธเจ้า แทนศาสนา
๔. อักษรเยาวชนสีขาวในพื้นวงกลม สีเขียวบนรูปโล่สีธงชาติ
หมายถึง พลังอันบริสุทธิ์แห่งความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเยาวชนไทย อันจะนําไปสู่ ความสําเร็จ การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาการกสิกรรม อันเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
๕. รวงข้าวทั้ง ๙ รวง
หมายถึง เป้าหมายในการพัฒนาเยาวชน ทั้ง ๙ ประการ ตามนโยบายเยาวชนแห่งชาติ โดยที่รวงข้าว หมายถึง ความเติบโตงอกงาม ฉะนั้นคุณลักษณะ ๔ ประการ ที่จะปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวเยาวชน จึงเปรียบเสมือนคุณสมบัติ ที่จะงอกงามขึ้นตามตัวเยาวชน
5. อักษรว่า หลัง พัฒนา ชาติ
เป็นคําขวัญเพื่อเตือนใจเยาวชนให้ตระหนักว่า พวกเขานั้น มีพลังบริสุทธิ์ อันหนักแน่น จริงจัง ที่สามารถ ทําประโยชน์ได้มาก ทั้งยังร่วมกันสร้างสรรค์ พัฒนาสังคม
Share: