Cyberbullying : ระรานออนไลน์ ร้ายล้านวิว

Cyberbullying : ระรานออนไลน์ ร้ายล้านวิว

เคยไหม? ถูกเพื่อนระราน กลั่นแกล้ง ล้อเลียน รุมรังแก ต่อต้าน ไม่รับเข้ากลุ่ม หรือโดนเพื่อนแบล็กเมล

หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ในวัยเรียนที่โหดร้าย ถูกทำให้เป็นตัวตลก เพื่อนแอนตี้ทุกเรื่อง ต้องทนทุกข์เป็นปี ๆ กว่าจะเรียนจบออกไป หรืออาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า จนบางรายเลือกที่จะจบชีวิตตนเองเพราะมองไม่เห็นทางออกอื่น การระรานหรือ Bully แบบนี้มีมานานแล้ว แต่เทคโนโลยีทำให้เรื่องนี้เลวร้ายกว่าเดิม อย่างไรล่ะ?

ราชบัณฑิตสภา ให้คำนิยาม Cyber Bully ว่าคือ “การระรานทางไซเบอร์” หมายถึง การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์

สมัยก่อน โดนล้อว่า “อ้วนดำ” ก็จบตรงนั้น ในห้องเรียน ในโรงเรียน กับเพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ ไม่กี่สิบคน แต่สมัยนี้ มีการใช้ภาพประกอบ ตัดต่อ แต่งภาพ ให้ดูน่าเกลียดหรือดูตลกกว่าเดิม มีการก๊อปปี้ถ้อยคำกลั่นแกล้งเป็นพัน ๆ ครั้ง มีคนมาเขียนคอมเมนต์ซ้ำเติม แล้วแชร์วนไปในโซเชียลมีเดีย เรียกว่าเป็น Cyberbullying เหมือนถูกทำร้ายจากคนเป็นพันเป็นหมื่นซ้ำแล้วซ้ำเล่า และอาจแพร่กระจายไปได้เป็นล้านคนในเวลาไม่นาน โดยการทำร้ายยังคงอยู่อย่างนั้น เปิดไปเมื่อไรก็เจอ

ปัญหาการระรานในโรงเรียนบ้านเรา ปัจจุบันนี้สูงถึงร้อยละ 40 ติดอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น* โดยเฉพาะ Cyberbullying ซึ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทำร้ายจิตใจและอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของเหยื่อ ที่แย่คือคนทำสามารถปกปิดตัวตนบนโลกออนไลน์ ทำให้ไม่รู้ว่าจะจัดการแก้ปัญหากับใครได้อย่างไร เนื้อหาที่โดนระราน กลั่นแกล้ง รังแก ไม่ว่าจะเป็น การดูถูกเหยียดหยาม ทำให้กลายเป็นตัวตลก เสียชื่อเสียง คอยจับผิด แฉ ประจาน ทำให้อับอาย จนถึงขั้นใส่ร้ายป้ายสี จะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วบนโลกออนไลน์ มีคนมาช่วยแชร์ มาเขียนคอมเมนต์ในด้านลบ กลายเป็นวงจรการระรานทางไซเบอร์ที่ทำร้ายเหยื่อไม่สิ้นสุด

031.jpg

สาเหตุของการระรานออนไลน์

Cyberbullying เกิดขึ้นได้ทั้งจากการแกล้งกันเล็ก ๆ น้อย ๆ ล้อกันเล่นขำ ๆ แล้วบานปลายไปด้วยความไม่ตั้งใจ หรืออาจเกิดจากความขัดแย้งกันในโรงเรียน ความเกลียดชัง ทั้งที่มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล อาจแค่ไม่ชอบหน้า หรือความคิดเห็นบางอย่างไม่ตรงกัน แล้วใช้พื้นที่ในโลกออนไลน์โจมตีกัน รูปแบบของ Cyberbullying ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่

  1. การข่มขู่คุกคาม หรือให้ร้ายเหยื่อ บางครั้งนำไปสู่การทำร้ายร่างกายกันจริง ๆ
  2. การเปิดโปงข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ โดยการเอาไปโพสต์หรือส่งต่อให้คนอื่นรับรู้ เช่น ภาพหลุด ภาพตลก ๆ เพื่อประจาน ทำให้อับอาย
  3. การคุกคามทางเพศ โดยใช้ถ้อยคำที่ส่อไปในทางเพศ ส่งภาพหรือวิดีโอมาให้แล้วชวนทำกิจกรรมทางเพศ การตัดต่อภาพโป๊เปลือย การลวงให้ส่งรูปไม่เหมาะสมแล้วนำไปโพสต์ประจานหรือแบล็กเมล
  4. การแอบอ้างตัวตน โดยการแอบเข้าบัญชีออนไลน์ของเหยื่อ หรือสร้างบัญชีใหม่โดยใช้ชื่อและ/หรือรูปภาพของเหยื่อ แล้วนำบัญชีไปใช้ในทางไม่เหมาะสม
  5. การสร้างกลุ่มเพื่อโจมตี เช่น เพจแอนตี้ต่าง ๆ เพื่อจับผิด ประจาน พูดคุยตำหนิ ด่าทอ ทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกเกลียดชังเหยื่อ
IFBL_DekDee_img2.jpg

Cyberbullying กับผลกระทบ

Cyberbullying ทำให้เหยื่อได้รับผลกระทบทางจิตใจ เช่น

  • อับอาย                   
  • หวาดกลัว                
  • หวาดระแวง
  • หดหู่                      
  • รู้สึกโดดเดี่ยว            
  • เศร้าหมอง
  • ท้อแท้ สิ้นหวัง           
  • ไร้ค่า

และยังเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง เจ็บป่วย ทำร้ายตัวเอง และอาจรุนแรงถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตาย

สำหรับผู้ที่กลั่นแกล้งคนอื่น อาจจะได้รับผลกระทบในภายหลังได้เช่นกัน เช่น เกิดความรู้สึกผิดกับสิ่งที่เคยทำกับผู้อื่น ลงโทษตัวเอง หรืออาจจะเป็นอีกด้านหนึ่งคือ เสพติดความรุนแรงจนกลายเป็นอาชญากรในอนาคต ซึ่งผลกระทบกับเหยื่อและผู้กระทำจะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระรานและทักษะในการรับมือกับการระราน รวมทั้งการสนับสนุนด้านกำลังใจและความช่วยเหลือจากคนรอบข้างด้วย

หากเพื่อนหรือบุตรหลานมีอาการเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล เก็บตัว หวาดระแวง ตกใจง่าย ประสิทธิภาพในการทำงานหรือเรียนลดลง หมกมุ่นกับหน้าจอ ข้อความในโทรศัพท์ หรือโซเชียลมีเดีย ใช้ยานอนหลับหรือแอลกอฮอล์ และหากได้ยินผู้อื่นพูดถึงเรื่องที่ถูกกลั่นแกล้งจะมีอาการเครียดมากขึ้น หรือกดดันมากกว่าปกติ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าเขากำลังตกเป็นเหยื่อของ Cyberbullying ที่จะต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือโดยเร็ว

เด็ก ๆ จะรับมือ Cyberbullying อย่างไร?

  • STOP หยุดระรานกลับด้วยวิธีการเดียวกัน หยุดตอบโต้ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำซ้ำหรือเพิ่มความรุนแรงของเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น
  • BLOCK ปิดกั้นผู้ที่ระราน ไม่ให้เขาสามารถติดต่อ โพสต์ หรือระรานเราได้อีก
  • TELL บอกพ่อแม่ ครู หรือบุคคลที่ไว้ใจ เพื่อขอความช่วยเหลือ หากเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายหรือถูกข่มขู่คุกคาม ให้เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้กระทำและเหตุการณ์ระรานรังแกไปแจ้งเจ้าหน้าที่
  • REMOVE ลบภาพหรือข้อความระรานรังแกออกทันที โดยอาจติดต่อผู้ดูแลระบบหากเป็นพื้นที่สาธารณะบนโลกออนไลน์
  • BE STRONG เข้มแข็ง อดทน ยิ้มสู้ อย่าไปให้คุณค่ากับคนหรือคำพูดที่ทำร้ายเรา ควรใช้เป็นแรงผลักดันให้เราดีขึ้น ก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ
IFBL_DekDee_img3.jpg

สำหรับผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ รวมทั้งคนแวดล้อม ก็ควรเข้าใจ ให้กำลังใจ รับฟังและไม่ทอดทิ้ง ให้คำปรึกษาและสอนวิธีรับมือหรือแก้ไขสถานการณ์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมโรงเรียน และร่วมสอดส่องดูแล สังเกตพฤติกรรมของบุตรหลาน

Parent Zone องค์กรด้านสังคมหรือ Social Enterprise ของสหราชอาณาจักรในด้านการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยให้แก่พ่อแม่ เด็ก ๆ และโรงเรียน ชี้ให้เห็นว่า การเลี้ยงดูและอนุญาตที่ดีพอ โดยให้เด็กเผชิญความเสี่ยงและพัฒนาวิธีการรับมือที่เรียกว่า “Digital Resilience” คือแนวทางที่สำคัญที่จะทำให้เด็กสามารถรับมือกับภัยไซเบอร์ต่าง ๆ รวมทั้งเรื่อง Cyberbullying ประกอบด้วย ทั้ง “เข้าใจ” ว่ามีความเสี่ยง “รู้” ว่าต้องทำอย่างไร หากต้องขอความช่วยเหลือ “เรียนรู้” จากประสบการณ์ของพวกเขาเอง เพื่อให้สามารถเอาตัวรอดได้ และ “ฟื้นฟู” ถ้าเกิดพลาดไปแล้ว โดยมีระดับการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม

20191104-ParentZone_p001.jpg

เคล็ดลับพ่อแม่

  • พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง แต่ต้องแนะนำได้ และเป็นผู้ช่วยแก้ปัญหาที่ดีได้
  • คุยกับลูกว่าลูกชอบทำอะไรบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะแอป, เกม หรือเว็บไซต์ที่พวกเขาชอบ ถ้าลูกรู้ว่าพ่อแม่สนใจพวกเขา เขาก็จะยิ่งอยากมาคุยกับคุณเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ
  • อธิบายเรื่อง “กฎของบ้าน” เช่นการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเวลาที่เหมาะสม กฎจะได้ผลมากเมื่อลูกเข้าใจว่าทำไมถึงต้องมี อธิบายให้เขาได้คิดและพยายามทำตามข้อตกลงร่วมกัน

เราทุกคนสามารถช่วยกันป้องกันการระรานออนไลน์ได้ โดยการ “คิดก่อนโพสต์” ว่าไม่เป็นการละเมิดหรือสร้างความรู้สึกไม่ดี ทำความเสียหายให้กับผู้อื่น ไม่ลงรูปภาพหรือข้อความที่รุนแรง ตลอดจนข้อมูลส่วนบุคคล ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้ง รวมทั้งการห้ามปราม ตักเตือน ผู้ที่ระรานออนไลน์ และการให้กำลังใจและช่วยเหลือเหยื่อถ้าสามารถทำได้ เพื่อสร้างสังคมออนไลน์ที่สร้างสรรค์ร่วมกัน

ที่มา

  • *กรมสุขภาพจิต
  • สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ASEAN Stop Cyberbullying Workshop 2019” หยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ในงาน Digital Thailand Big Bang 2019 (31 ตุลาคม 2562)

Share:



“คุณภาพชีวิตของคนไทยในยุคไร้พรมแดน Quality of Life of People in the Borderless Era”

สำคัญกว่าเทคโนโลยี…คือความเข้าใจ

วันเวลาผันผ่าน จากโทรศัพท์บ้านสู่โทรศัพท์มือถือ และปัจจุบันที่ยุคการสื่อสารไร้พรมแดน แม้นวัตกรรมจะก้าวหน้าไปอย่างก้าวกระโดด แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นเบื้องหลังของการพัฒนาเหล่านี้และเป็นสิ่งที่ลืมไม่ได้เลย คือความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานจริง เพื่อสร้างไลฟ์สไตล์รูปแบบใหม่ที่เข้ากันได้กับทุกช่วงวัย

ความสะดวกสบายคือคำตอบที่นวัตกรรมต้องการตอบเป็นโจทย์แรกสุด เทคโนโลยีที่รุดหน้านำมาซึ่งการเติบโตหลายประการ ตั้งแต่หน่วยย่อยของตัวบุคคล ครอบครัว องค์กร ไปจนถึงระดับประเทศ หากแต่เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเหล่านั้นคงไม่มีความหมายใดๆ เลย หากขาดซึ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่างเทคโนโลยีกับผู้ใช้งาน ฉะนั้น สิ่งแรกที่จำเป็นต้องทำหากจะต้องสร้างสิ่งใหม่นั่นก็คือ การลงมือสำรวจความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานโดยตรง

เช่นเดียวกันกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ผู้ให้บริการดิจิทัลและโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศ ที่ไม่เพียงต้องการสร้างนวัตกรรมที่ดีที่สุด แต่ต้องเป็นนวัตกรรมที่เข้าใจผู้ใช้งานมากที่สุด เพราะนั่นเท่ากับว่าเราได้ใช้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจากบุคลากรชั้นแนวหน้าของประเทศไทยอย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และยิ่งกว่าการวัดผลด้วยตัวเลขใดๆ คือความสุขและรอยยิ้มที่เกิดขึ้นกับคนไทยทั่วประเทศจากการใช้เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองแต่ละคนได้อย่างแท้จริง

ประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้บริการเป็นหนึ่งในพันธกิจของ CAT ซึ่งทำการสื่อสารผ่านการพัฒนาและสรรหาบริการด้านดิจิทัลและโทรคมนาคมที่ตอบไลฟ์สไตล์ของแต่ละยุคสมัย เห็นได้จากภาพยนตร์โฆษณาตัวล่าสุดของ CAT ที่บอกเล่าผ่านเรื่องราวของครอบครัวของคุณพ่อและลูกสาวที่ความปรารถนาดีถูกเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยีที่ช่วยเรียกคืนความทรงจำดีๆ กลับเข้ามาสร้างความสุขให้กับชีวิตประจำวันได้อีกครั้งหนึ่ง

เรื่องราวเล่าผ่าน “เล้ง” คุณพ่อวัยเกษียณที่จะต้องโยกย้ายจากย่านเดิมที่เคยอยู่อาศัยมายาวนานตามคำขอของลูกสาวที่เห็นว่าบ้านใหม่สะดวกสบายและพรั่งพร้อมมากกว่า ความเหงาจากการต้องลาจากจากชีวิตประจำวันที่ใช้ชีวิตมานานทำให้เขาพยายามทดลองใช้งานนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ดูบ้าง แต่ทุกอย่างดูเหมือนยากเย็นไปหมดสำหรับการเรียนรู้ใหม่ในวัยผู้ใหญ่ ส่วนทางลูกสาวเองก็เข้าใจได้ว่ามิตรภาพในกลุ่มเพื่อนนี่เองที่จะมาเติมเต็มชีวิตที่มีความสุขของคุณพ่อได้ และเทคโนโลยีนี่เองที่เป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ชีวิตประจำวันแบบเดิม และหัวใจที่มีความสุขของคุณพ่อกลับมาอีกครั้ง

สำหรับหลายคนการเรียนรู้หรือจะเริ่มต้นทำความเข้าใจกับสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องง่าย หากแต่ความเข้าใจจากผู้ให้บริการก็เป็นอีกส่วนที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมใหม่กับผู้ใช้งานไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นั่นก็เพราะการพัฒนาที่ผ่านความเข้าใจ การเข้าไปมองหาถึงความต้องการที่แท้จริงของคนทุกเพศทุกวัย และมองมุมกลับถึงสิ่งที่ยังขาดหายไปหรือสิ่งที่ทดแทนได้ในแง่ของความรู้สึก เหล่านี้จึงนับเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาระบบดิจิทัลและโทรคมนาคมให้สะดวกสบาย

ทุกความเปลี่ยนแปลงย่อมมีบางสิ่งที่ต้องสูญเสียไป แต่การเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายด้วยความเข้าใจคือพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการพัฒนานวัตกรรม อย่างที่ CAT เชื่อมั่นเสมอว่า สำคัญกว่าเทคโนโลยี… คือความเข้าใจ


Share:



ส่งลูกให้ตายายเลี้ยง สู่ความสัมพันธ์ใหม่ที่เรียกว่า “ครอบครัวแหว่งกลาง”

ส่งลูกให้ตายายเลี้ยง สู่ความสัมพันธ์ใหม่ที่เรียกว่า “ครอบครัวแหว่งกลาง”

อาจเป็นเรื่องปกติมากขึ้นที่พ่อแม่ยุคปัจจุบันจะส่งลูกไปอยู่กับปู่ย่าตายาย และตนเองต้องทำงานอยู่ในเมือง

แล้วแบบนี้วัยที่ห่างกันมาก ๆ ระหว่างเด็กกับผู้สูงอายุ จะมีผลต่อความเป็นอยู่ใน “ครอบครัวแหว่งกลาง” อย่างไร

การศึกษาคุณภาพชีวิตของเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุในครอบครัวแหว่งกลาง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย

ดร.ยุรนันท์ ตามกาล
อุไรวรรณ รุ่งไหรัญ
คริษฐา อ่อนแก้ว
สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


Share:



ปีใหม่ ชีวิตใหม่…ชีวิตดี สร้างได้ด้วยมือเรา New Year New Me…You Life is in Your Hand

“ฝั่งขวาเจ้าพระยา”

“โชกุน”

(ธรรมบรรยายโดย พุทธทาสภิกขุ บรรยายเนื่องในพิธีตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖)
ขออนุโมทนา ในวันซึ่งทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นวันปีใหม่ ความสำคัญก็คือ ขอให้มันมีอะไรใหม่ไปในทางดีสมกับปีใหม่ อย่าให้เหมือนปีเก่า หรือต่ำกว่าปีเก่าเลวกว่าปีเก่า จึงจะเป็นปีใหม่ ต้องตั้งใจจริงกันที่สุดเลย จึงจะมีอะไรเกิดใหม่ขึ้นมา

ขอให้มองเห็นชัดเจนว่า ชีวิตของคนเราเป็นสิ่งที่ปรับปรุงได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นธรรมชาติก็เป็นธรรมชาติที่ปรับปรุงได้ ชีวิตนี้จะต้องปรับปรุงกันตลอดเวลา มันก็จะเป็นไปในทางที่ดีขึ้นๆ แล้วก็จะเต็มถึงที่สุดสักวันหนึ่ง ขอให้เชื่อแน่ในขั้นต้นเสียก่อนว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่ปรับปรุงได้ หรือจะพูดให้ง่ายไปกว่านั้นอีกก็ว่า เป็นสิ่งที่เติมธรรมะลงไปได้

ชีวิตของเราเหมือนกับตุ่มน้ำ สามารถจะเติมน้ำใหม่ๆ ลงไปได้ ถ้าน้ำเก่ามันสกปรกมันไม่ดี ก็เทออกเสียหรือไขออกเสีย แล้วก็เติมน้ำใหม่ๆ ที่ดีลงไป ก็เป็นตุ่มน้ำที่มีน้ำดีๆ

ชีวิตนี้ก็เหมือนกันถ้าได้ทำผิดพลาดไปแล้วแต่หนหลัง ก็พยายามเอาออก แล้วก็เติมของใหม่ของดีของถูกลงไป ถ้าไม่เอาออกมันเติมไม่ลง มันจะล้น เราจึงต้องทำให้เติมได้ ที่เรียกว่าเติมนี้ก็คือ เติมพระธรรม พระธรรมที่เคยมีน้อย เติมให้มาก บางทีมีอธรรม คือธรรมะที่ผิดๆ อยู่มากก็ต้องไขออกไป

แต่คำว่าธรรมะหรือพระธรรมนั้นแปลความกันหลายอย่าง คำแปลที่ดีที่สุดก็คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความเป็นมนุษย์ ทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการ ธรรมะคือสิ่งที่ทำให้ความเป็นมนุษย์เพิ่มขึ้นๆ ทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการ

เมื่อก่อนนี้เรามีความเป็นมนุษย์น้อย ไม่สมกับความหมายของคำว่ามนุษย์ ก็เติมธรรมะ -เครื่องทำให้เป็นมนุษย์ ลงไป ลงไป ให้ความเป็นมนุษย์มันเพิ่มขึ้น

ที่ว่าทุกขั้นตอนของวิวัฒนาการนี้หมายความว่า ตั้งแต่เด็ก จนเติบโต วัยรุ่น หนุ่มสาว พ่อบ้าน แม่เรือน คนแก่ คนเฒ่า คนชรา นี่เรียกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการ ให้มันเต็ม ถูกต้อง ให้มันเต็มขึ้นทุกๆ ขั้นตอนของวิวัฒนาการ

เป็นเด็กที่ประกอบไปด้วยธรรมะเต็มที่ของเด็ก เป็นวัยรุ่นก็เป็นธรรมะเต็มที่ของวัยรุ่น เป็นหนุ่มสาวก็มีธรรมะเต็มที่ของหนุ่มสาว เป็นพ่อบ้านแม่เรือนก็เต็มที่ของพ่อบ้านแม่เรือน เป็นคนแก่คนเฒ่าก็มีธรรมะเต็มที่ของคนแก่คนเฒ่า

นั่นแหละคือเต็ม พูดกันหยาบคายก็ว่า ไม่เสียชาติเกิด ถ้าได้เกิดมา เติมให้เต็มแล้วมันก็ไม่เสียชาติเกิด ถ้าไม่ได้เติมให้เต็มมันก็เสียชาติเกิด หรือเต็มด้วยของสกปรกคือไม่ใช่มนุษย์ มันก็เสียชาติเกิด

ช่วยอบรมเด็กๆ ลูกหลาน ทารกของเราให้ดีๆ ให้มีความถูกต้อง มาเสียตั้งแต่เล็กๆ แล้วมันจะถูกต้องยิ่งขึ้นและสมบูรณ์ ถ้าผิดพลาดมาตั้งแต่เล็กๆ แล้วก็จะผิดพลาด หรือยากที่จะแก้ไขในภายหลัง

ดังนั้นใครมีเด็ก มีลูกมีหลาน มีเด็กเล็กๆ ในขั้นทารกแล้วก็อบรมให้ดีๆ ให้เข้าใจอย่างถูกต้องในความเป็นมนุษย์ บางอย่างเด็กยังไม่เข้าใจ อธิบายยังไม่ได้ ก็รอไว้ก่อนก็ได้ แต่ว่าแนะให้ทำในสิ่งที่จะต้องทำ และให้ถูกต้องตามเรื่องจริง อย่าหลอกหรือสอนให้เด็กมันโง่ กลัวผี กลัวเสือ กลัวตุ๊กแก กลัวโชคร้าย กลัว… อะไรซึ่งมันไม่ใช่ความจริง เ ด็กมันก็โง่และก็แก้ยากทีหลัง ให้เด็กรู้ว่าทำดีมันดี ทำชั่วมันชั่ว ทำดีมันจะไม่เดือดร้อน ทำชั่วมันจะเดือดร้อน และเราทำเอง เราเป็นที่พึ่งของตัวเราเอง

สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นเขาพูดกันแต่ปากแหละ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุดก็คือ เราทำเองนั่นแหละ ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ลองทำเถอะ ทำชั่วมันก็ชั่ว ทำดีมันก็ดี นั่นแหละศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ตามหลักพระพุทธศาสนามันต้องช่วยตัวเอง ต้องทำเอง และเป็นที่พึ่งแก่ตัวเอง นั่นแหละคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือการที่เราทำดีที่สุด นั่นแหละคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่เป็นผีสางเทวดาพระเจ้าบุคคลอะไรที่ไหน นั่นเป็นบุราณ สมัยป่าเถื่อน เชื่อกันมาตั้งแต่สมัยป่าเถื่อน คนป่าเชื่อกันมานานแล้ว และยังเหลืออยู่จนบัดนี้

^สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แท้จริงก็คือ ความดีที่เราทำ ทำให้มาก ทำให้เต็ม จะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ต้องอ้อนวอน พอทำแล้วก็ช่วยละ สิ่งศักดิ์สิทธิ์แท้จริงไม่ต้องอ้อนวอนให้ช่วย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องอ้อนวอนให้ช่วย นั้นปลอม เก๊ กินสินบน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ชนิดกินสินบนเราไม่เอา เราไม่ต้องอ้อนวอน ไม่ต้องบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาช่วย เราทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยทันที ทำดี ดี ทำชั่ว ชั่วทันที เมื่อรักที่จะทำดี ให้เต็มที่ ให้สุดความสามารถไว้เสมอ พอทำแล้วมันก็จะช่วยแหละ ไม่ต้องอ้อนวอนว่า จงช่วย จงช่วย เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แท้จริงเป็นอย่างนั้นเองจะช่วยเอง

เราเป็นพุทธบริษัท ไม่ถือไสยศาสตร์ ไม่อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไหนมาให้ช่วยอีก แต่พยายามให้สิ่งที่เราทำดีและศักดิ์สิทธิ์นั้นแหละ ช่วยทันทีเลย ไม่ต้องอ้อนวอน ไม่ต้องขอร้อง นี่เรียกว่า พุทธบริษัทถือพุทธศาสตร์ พึ่งตัวเอง ทำดีด้วยตนเอง แล้วมันก็ช่วยในตัวเอง ไม่ต้องไปอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ที่เราไม่มองเห็นตัว แล้วต้องไปเชื่อ เชื่อตามที่เขาว่ากันนั้น อันนั้นไม่ใช่พุทธศาสตร์ แต่ว่าเวลานี้มันมาปนกันอยู่แยกไม่ออก ถ้าแยกไม่ออกก็กลายเป็นถือสองอย่างพร้อมกันไป ทั้งพุทธศาสตร์ทั้งไสยศาสตร์แหละ ก็ขอให้ช่วยสังเกตดูให้ดี ให้แยก แยกไสยศาสตร์ออกไปเสียเรื่อยๆ ให้เหลือแต่พุทธศาสตร์ ยิ่งขึ้นๆ

เมื่อเป็นเด็กยังโง่ ถือสองศาสตร์ก็ได้ แต่พอเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ถือศาสตร์เดียวดีกว่า คือถือพุทธศาสตร์ ศาสตร์เดียวดีกว่า จะได้เป็นพุทธบริษัทของพระพุทธเจ้า

ตอนนี้ปีใหม่ขอให้มันเป็นแบบนี้ยิ่งขึ้น ปีใหม่ให้มันเป็นชนิดนี้ ยิ่งขึ้นๆ ใหม่ขึ้นๆ ทุกๆ ปี เติมความถูกต้องลงไปในชีวิต ให้ใหม่ ให้ใหม่ยิ่งขึ้นทุกๆ ปี แล้วก็ไม่เสียทีที่จะทำบุญปีใหม่ ทำบุญเนื่องด้วยปีใหม่ เป็นที่ระลึกแค่ปีใหม่


Share:



สร้างสังคมคุณธรรมรวมพลังต้านทุจริต Anti-CorruptionCreate a Moral Society

สร้างสังคมคุณธรรมรวมพลังต้านทุจริต Anti-CorruptionCreate a Moral Society


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial