จากรายงานสถานการณ์ทางสังคมของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน ประจำ ปี 2565

จากรายงานสถานการณ์ทางสังคมของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน ประจำ ปี 2565 และการประชุมระดมความเห็น วิเคราะห์ สถานการณ์ทางสังคม 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน และเครือข่าย พบว่า ประเด็นปัญหาที่น่าห่วงใยในขณะนี้ ได้แก่ ปัญหาของเด็กและ เยาวชนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาทิ ปัญหาเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มีพฤติกรรมก้าวร้าว ออกจากระบบการศึกษากลางคัน เสพยาเสพติด ฯลฯ และจากสถิติโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า เด็กและเยาวชนในครัวเรือนเปราะบางมีแนวโน้มกลายเป็นแม่วัยใสสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อแม่วัยใสและเด็กที่เกิดมา ทำ ให้เกิดปัญหาซ้ำ ซ้อนต่อเนื่องจากความไม่พร้อมที่จะมีครอบครัว เกิดแม่วัยใสเลี้ยงเดี่ยวสูงขึ้นตามมาด้วย ประกอบกับแม่วัยใส มีอายุน้อยลงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่อย่างมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง


Share:



แนวทางและมาตรการรณรงค์เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมเนื่องในประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช ๒๕๖๖ “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล”

แนวทางและมาตรการรณรงค์เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมเนื่องในประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช ๒๕๖๖ “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล”

ความสำคัญของการจัดทำแนวทางและมาตรการรณรงค์เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมเนื่องใน ประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช ๒๕๖๖ “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจสู่สากล”

คณะรัฐมนตรีมีมติเมือวันที ๒๔ มีนาคม ๒๔๖๓ เห็นชอบให้เสนอประเพณีสงกรานต์ ในประเทศไทย เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม1ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก เนื่องจาก ประเพณีสงกรานต์มีการเฉลิมฉลองทั่วทุกพื้นที่ชองประเทศไทยตามภูมิหลังทางชาติพันธุ วัฒนธรรมและ ฃนบธรรมเนียมที่แตกต่างกัน อันบ่งซี้ถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีจุดร่วมกันเพียงหนึ่งเดียว ทั้งยัง สะท้อนถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ชองมนุษย์ ตลอดจนการขึ้นทะเบียนสงกรานต์ในประเทศไทยจะ กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ทั้งในประเทศที่มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน ตลอดจนเปีดโอกาสให้ทุกกลุ่มคนได้เช้าร่วมประเพณีอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกันโดยขณะนี้กระบวนการดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณาชองยูเนสโก

๑. แนวคิด “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล” สื่อความหมายได้ ดังนี้

๑) สืบสานสงกรานต์วิถีไทย หมายถึง การอนุรักษ์ สืบสานและส่งเสริมประเพณีสงกรานต์

ที่ทรงคุณค่า สาระอันดีงาม และการปฏิบัติตามแบบชองประเพณีวัฒนธรรมที่เหมาะสมชองแต่ละ ท้องถิ่นตามภูมิหลังชองวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยยังคงแก่นแท้ชองประเพณีที่มีร่วมกัน ซึ่งสะท้อนถึง การแสดงออกที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร มีนี้าใจไมตรีให้แก1กันและกัน และบรรยากาศแห่งการแสดง ความกตัญณูที่สามารถแสดงออกได้ ต่อครอบครัว บรรพบุรุษ บิดามารดา ผู้มีพระคุณ ตลอดจนศาสนาและ ความเชื่อที่นับถือ นอกจากนี้ยังรวมถึงค่านิยมในการเคารพมาตรการรักษาความบิลอดภัยในช่วงประเพณี สงกรานต์ และการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงการเคารพในสิทธิมบุษยซน

๒) ร่วมสานใจ สู่สากล หมายถึง การส่งเสริมการเผยแพร่คุณค่าสาระที่ดีงามชองประเพณี

สงกรานต์ในฐานะที่เป็นมรดกภูมิบีญญาทางวัฒนธรรมชองไทย และการปฏิบัติตามแบบชองประเพณีวัฒนธรรมที่ เหมาะสมชองแต่ละท้องถิ่นตามภูมิหลังชองวัฒนธรรมที่แตกต่างกันสู่สายตาซาวต่างชาติ อีกทั้งมีการส่งเสริมการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ในต่างประเทศ ตลอดจนมีการสร้างความตระหนักรู้ และหวงแหนต่อประเพณีสงกรานต์ชองประซาซนซาวไทยในฐานะที่ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่แสดงถึง รัตลักษณ์ชองความเป็นไทยในทุกภูมิภาค และเป็นหนึ่งในแนวคิด Soft Power ด้านอนุรักษ์และขับเคลื่อน เทศกาล ประเพณีสู1ระดับโลกชองรัฐบาล โดยอาศัยการบูรณาการจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกซน และภาคประซาซน

๒. แนวทางและมาตรการรณรงค์ เพื่อดำเนินการประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ๑) การรณรงค์เรื่อง “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย” ประกอบด้วย

๑.๑ ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง พิจารณาจัดกิจกรรมในประเพณีสงกรานต์ โดยเน้นเรื่องคุณค่าและสาระชองวัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยวและสุขภาพ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ชองแต่ละท้องถิ่นที่มีภูมิหลังชองวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

๑.๒.ส่งเสริมให้จังหวัดต่างๆ ใช้พื้นที่จัดกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมในประเพณี สงกรานต์ ร่วมกันสืบสานประเพณีที่ดีงาม เหมาะสม

๑.๓ รณรงค์ให้ประซาซนสืบสานคุณค่าสาระและสิ่งที่ควรทำของประเพณีสงกรานต์ เซ่น การทำความสะอาดบ้านเรือน จัด ศาสนสถานที่นับถือ สถานที่สาธารณะ ทำบุญตักบาตร ปฏิบัติธรรม พิงเทศน์ สรงนํ้าพระพุทธรูป ซอพรผู้สูงอายุ

๑.๔ รณรงค์ให้แต่งกายด้วยชุดสุภาพ ใช้ผ้าไทย ผ้าท้องถิ่น หรือชุดไทยย้อนยุค เช้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ

๑.๕ ซอความร่วมมือหน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนศิลปินพื้นบ้านในการจัดกิจกรรม การละเส1น และการแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ตามแนวทางมาตรการเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๖๖ เพื่อเป็นการถ่ายทอดมรดกภูมิปิญญาทางวัฒนธรรม และให้เด็ก เยาวชน ประซาซนทั่วไปได้ร่วมกันสืบสาน ประเพณี โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมที่ถูกต้องเหมาะสม และร่วมกันเฝ็าระวังทางวัฒนธรรม

๑.๖ รณรงค์ให้ประซาซนเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีสงกรานต์โดยคำนึงถึงหลัก สิทธิมนุษยซน เซ่น การไม่คุกคามทางเพศ การเคารพและ’ให้เกียรติผู้ที่ไม1ประสงค์’จะเล่นสาดนาสงกรานต์ การไม่สร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่น การไม่สร้างความวุ่นวายหรือความเดือดร้อนในที่สาธารณะ เป็นต้น

๑.๗ ซอความร่วมมือประซาซนที่ฃับฃี่ยานพาหนะและไข้ถนนหนทางให้ปฏิบัติตาม กฎหมาย กฎจราจรอย่างเคร่งครัด รวมถึงช่วยสอดส่อง หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ในกรณีพบเห็นผู้ที่ปฏิบัติตน ไม่เหมาะสม

๑.๘ การดำเนินการจัดงานตามคำแนะนำในการบ้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด โรคติดเชื้อซองกระทรวงสาธารณสุข เพื่อบ้องกันการแพร่ระบาดซองโรคอุบัติใหม่และอุบัติซํ้าโรค รวมถึง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVI□-๑๙) ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยในช่วง ประเพณีสงกรานต์ และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงการรักษาความปลอดภัยในด้านอื่น ๆ ซองหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง

๒) การรณรงค์เรื่อง “ร่วมสานใจ สู่สากล” ประกอบด้วย

๒.๑ ส่งเสริมภาครัฐ เอกซน และภาคประซาซน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ

๒.๒ ส่งเสริมภาครัฐ เอกซน และภาคประซาซน ในการเผยแพร่คุณค่าสาระซองประเพณี สงกรานต์ที่แท้จริงซองต่อซาวต่างชาติ

๒.๓ ส่งเสริมภาครัฐ เอกซน และภาคประซาซน ในการสร้างความตระหนักรู้ต่อประซาซน เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย รวมถึงการสร้างความภาคภูมิใจและหวงแหนในประเพณีสงกรานต์ ต่อประซาซนซาวไทยในฐานะที่เป็นประเพณีที่ซาวต่างชาติให้ความสนใจ และม่โอกาลได้รับการพิจารณาจาก ยูเนสโกให้ชื้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ซองมนุษยชาติ

๒.๔ รณรงค์ให้ประซาซนสร้างรัตลักษณ์ความเป็นไทยในการเช้าร่วมกิจกรรมประเพณี สงกรานต์ เซ่น แต่งกายด้วยชุดสุภาพผ้าไทย ผ้าท้องถิ่น หรือชุดไทยย้อนยุค เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และเพื่อสร้างการรับรู้รัตลักษณ์ความเป็นไทยในประเพณีสงกรานต์ต่อซาวต่างชาติ


Share:



เชิญชวนส่งผลงาน “บทกวี – เรื่องสั้น” ประกวดวรรณกรรม “รางวัลพานแว่นฟ้า” ประจำปี 2566 ชิงเงินรางวัลรวม 680,000 บ. ตั้งแต่วันนี้ –9 เม.ย.66

 เชิญชวนส่งผลงาน “บทกวี – เรื่องสั้น” ประกวดวรรณกรรม “รางวัลพานแว่นฟ้า” ประจำปี 2566 ชิงเงินรางวัลรวม 680,000 บ. ตั้งแต่วันนี้ –9 เม.ย.66

1) เป็นวรรณกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย

2) เรื่องสั้น เป็นวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น ต้นฉบับผลงานต้องเป็นภาษาไทย และพิมพ์ลงในกระดาษ เอ 4 จำนวนไม่เกิน 8 หน้า หากพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวพิมพ์ (16 พอยท์) ในกรณีที่ผู้ส่งผลงานเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำหรือทัณฑสถาน อนุโลมให้เขียนด้วยลายมือตัวบรรจงได้ (จำนวนไม่เกิน 10 หน้า)

3) บทกวี เป็นวรรณกรรมประเภทบทกวี หากเป็นบทกวีฉันทลักษณ์ ขนาดความยาว 6 – 12 บท ถ้าเป็นบทกวีรูปแบบอื่น (กลอนเปล่าหรือรูปแบบคำประพันธ์ที่สร้างขึ้นใหม่) ขนาดความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ โดยพิมพ์หรือเขียนลงในกระดาษ เอ 4 หากพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวพิมพ์ (16 พอยท์) หากเขียนด้วยลายมือให้เขียนตัวบรรจง

คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

              1) ประชาชนทั่วไป

              2) ผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่ในขณะที่ส่งผลงาน

              ข้อปฏิบัติในการส่งผลงานเข้าประกวด

              1) ผู้เขียนหนึ่งคนมีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวดได้ประเภทละ 1 ผลงาน

              2) เป็นผลงานที่เขียนขึ้นใหม่ ไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อทุกประเภทก่อนการตัดสินของคณะกรรมการฯ

              3) ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องสร้างสรรค์ผลงานที่ส่งเข้าประกวดด้วยตนเองเพียงผู้เดียว ไม่ลอกเลียนหรือตกแต่งดัดแปลงจากผลงานของผู้อื่น หากมีการลอกเลียนหรือตกแต่งดัดแปลงหรือละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เขียนจะต้องรับผิดตามกฎหมาย ในกรณีที่พบว่าเป็นการลอกเลียนหรือตกแต่งดัดแปลงหรือละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเป็นผลงานที่มีผู้สร้างสรรค์มากกว่าหนึ่งคน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจพบระหว่างหรือหลังจากการประกวด การส่งผลงานเข้าประกวดและการได้รับรางวัลถือเป็นโมฆะ โดยคณะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า ปี 2566 หรือสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาเพิกถอนสิทธิในรางวัลของผู้เขียนทุกประการ และอาจไม่รับพิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดในครั้งต่อไป ตามแต่ระยะเวลาที่จะกำหนดและประกาศให้ทราบ

              4) ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องตรวจสอบต้นฉบับให้สมบูรณ์ หากส่งผลงานเข้าประกวดแล้วจะไม่สามารถขอแก้ไขหรือยกเลิกผลงานเดิมเพื่อส่งผลงานใหม่ แม้ยังไม่หมดเวลารับผลงาน

              ทั้งเรื่องสั้นและบทกวี

              รางวัลชนะเลิศ

              ได้รับโล่รางวัลพานแว่นฟ้า และเกียรติบัตร ของประธานรัฐสภา

              และเงินรางวัล 60,000 บาท

              รางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล

              ได้รับโล่รางวัลพานแว่นฟ้า และเกียรติบัตร ของประธานรัฐสภา

              และเงินรางวัล รางวัลละ 40,000 บาท

              รางวัลชมเชย 10 รางวัล

              ได้รับเกียรติบัตร ของประธานรัฐสภา

              และเงินรางวัล รางวัลละ 20,000 บาท

              ผลงานที่ผ่านการพิจารณารอบกลั่นกรอง (Longlist) ทั้งประเภทเรื่องสั้นและบทกวีที่ไม่ได้รับรางวัล จะได้รับเกียรติบัตรของประธานรัฐสภา

              วิธีการส่งผลงานเข้าประกวด

              1) สามารถส่งผลงานในรูปแบบต้นฉบับขนาด เอ 4 หรือไฟล์ PDF

              2) เขียนชื่อและนามสกุลจริง และ/หรือนามปากกา ที่อยู่พร้อมรหัสไปรษณีย์ หมายเลขโทรศัพท์ของผู้เขียน แนบท้ายผลงานที่ส่งเข้าประกวด (ห้ามใส่ชื่อหรือนามปากกาในตัวผลงานทุกจุด)

              3) การส่งผลงานเข้าประกวด สามารถส่งได้ดังนี้

              3.1) ส่งผลงานเข้าประกวดทางไปรษณีย์ หรือส่งโดยตรงได้ที่ กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขที่ 1111 ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 วงเล็บมุมซองว่า “ประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า”

              3.2) ส่งผลงานรูปแบบไฟล์ PDF ได้ที่ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ phan@parliament.go.th

              เปิดรับผลงานเข้าประกวด ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 9 เมษายน 2566

              (ในกรณีที่ส่งทางไปรษณีย์ จะถือวันประทับตราส่งไปรษณีย์เป็นสำคัญ ในกรณีที่ส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องไม่เกินเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 9 เมษายน 2566)

              – ประกาศรายชื่อผลงานที่ผ่านการกลั่นกรอง (Longlist) มิถุนายน 2566

              – ประกาศรายชื่อผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การตัดสินรอบสุดท้าย (Shortlist) กรกฎาคม 2566

              – ประกาศผลการตัดสิน สิงหาคม 2566

              – มอบรางวัล กันยายน 2566

              สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

              โทรศัพท์ 0 2242 5900 ต่อ 5492 – 94 ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับรางวัล ได้ที่ https://www.parliament.go.th/phan/ และเพจเฟซบุ๊ก “รางวัลพานแว่นฟ้า”


Share:



การคัดเลือกและเสนอขื่อผู้สมควรได้รับการยกย่องเป็น “สตรีไทยดีเด่น” ประจำปี ๒๕๖๖

สภาสมาคมสตรีแห่งซาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์และภาคีเครือข่าย กำหนดจัดงาน “วันสตรีไทย” ประจำปี ๒๕๖๖ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลที,พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา ๗๑ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตี้ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เฉลิมพระชนมพรรษา ๙๑ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เฉลิมพระชนมพรรษา ๔๕ พรรษา และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เฉลิมพระชนมพรรษา ๖๘ พรรษา ในการจัดงานครั้งนี้ประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การคัดเลือกสตรีไทยทั่วประเทศ ซึ่งมีประวัติและผลงานโดดเด,นเป็นที,ประจักษ์ และยอมรับ ชองบุคคล ชุมชนและสังคมในภาพรวม เพื่อเช้ารับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติประจำปี ๒๕๖๖ ในวันอังคารที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๖

จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงขอเชิญสตรีที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป และมีภูมิสำเนา อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ภูมิลำเนาที่ปรากฏในทะเบียนบ้าน อย่างน้อย ๑ ปี) ส่งประวัติ และผลงานเพื่อเช้ารับการพิจารณาคัดเลือกเป็น “สตรีไทยดีเด่น” ประจำปี ๒๕๖๖ โดยสามารถ ติดต่อขอรับแบบฟอร์มการเขียนประวัติและผลงาน ได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ชองมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือทางเวปไซต์ www.nakhonsithammarat.m-society.go.th. หัวข้อ “ข่าวประซาสัมพันธ์” หรือทีว่าการอำเภอทุกอำเภอ และส่งประวัติและผลงาน เป็นรูปเล่ม จำนวน ๑๓ เล่ม ล่งไปที, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในวันที, ๔ เมษายน ๒๕๖๖ เพื่อที,จังหวัดจะได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกให้เป็นตัวแทนจังัหวัด และเสนอรายซื่อ พร้อมประวัติและผลงานให้สภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราซินูปถัมภ์ พิจารณาให้เป็น “สตรีไทยดีเด่น” ประจำปี ๒๕๖๖ ต่อไป


Share:



ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2566

ประกาศสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2566


Share:



ประชาสัมพันธ์การจดทะเบียนองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนด้านการพัฒนาเด็กเเละเยาวชน

ประชาสัมพันธ์การจดทะเบียนองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนด้านการพัฒนาเด็กเเละเยาวชน
โดย กรมกิจการเด็กเเละเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมเเละความมั่นคงของมนุษย
โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่
https://dcy.go.th/publication/1665040084946
และส่งเอกสารการจดทะเบียนองค์กรฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ณ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด


Share:



ประกาศกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

เรื่อง ขยายระยะเวลารับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นประธานกรรมการและกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial